เมนู

มักกฏกวรรค ที่ 6


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้านาคเสนอันปรีชาเฉลิมปราชญ์ ผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า องค์แห่งแมงมุมทำรังใกล้
ทางอย่าง 1 นั้น เป็นประการใด
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาว่าแมงมุมนั้นย่อมชักใยเป็นข่ายเป็นเพดานไว้ สัตว์ทั้งหลาย
คือแมลงหวี่แหละแมลงวัน บินไปติดอยู่ที่ข่ายที่เพดานนั้น แมงมุมก็บริโภคสัตว์ที่ติดข่ายนั้นเป็น
ภักษาหาร ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้านั้น ก็ขึงเพดานคือ สติปัฏฐาน และปิดทวารทั้ง
6 ไว้ มาตรว่าแมลงวันคือกิเลสได้เข้าไปติดอยู่ในเพดานนั้น ก็พึงจับฆ่าเสียฉันนั้น นี่แหละเป็น
องค์อัน 1 แห่งแมงมุมชักใย ยุติด้วยคำอันพระอนุรุทธเถรเจ้ากล่าวไว้ว่า
วิตานํเยว ฉทฺวาเรสุ สติปฏฺฐานวรุตฺตมํ
กิเลสา ตตฺถ ลคฺเคตฺวา หนฺตพฺพา เต วิปสฺสกา

แปลความว่า ธรรมดาโยคาวจรเจ้า อันเรียนวิปัสสนาพึงขึงเพดานคือสติปัฏฐาน ปิด
ทวารนั้น 6 ไว้ เมื่อกิเลสเข้าไปอยู่ก็จับฆ่าเสียดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าอันปรีชาเฉลิมปราชญ์ องค์อัน 1 แห่งทารกอันดูดนมมารดานั้นอย่างไรเล่า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ธรรมดาว่าทารกที่ดูดนมมารดานั้น ย่อมแสวงหาประโยชน์ด้วยน้ำนม ร้องไห้อ้อนวอนกินนม
มารดา ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็พึงแสวงหาประโยชน์แห่งตน พึงรักซึ่งธรรม
ทั้งหลายหมายประโยชน์ และประกอบความเพียรอยู่ในที่อันสงัด พึงส้องเสพกัลยาณมิตรอัน
สมควร พอใจอยู่ในสำนักครูบาอาจารย์ พึงเล่าเรียนซึ่งพระอรรถกถาบาลี อันจะเกิดประโยชน์
แห่งตนฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์อัน 1 แห่งพาลทารกดูกนมมารดา สมด้วยพระพุทธฎีกาที่สม
เด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตร มีในทีฆนิกายว่า
อิงฺฆ ตุมฺเห อานนฺท สทตฺโภ วายมถ สทตฺเถ อนุยุญฺขถ สทตฺเถ อปฺปมตฺตา อาตาปิโน
ปหิตตฺตา วิหรถ

มีความว่า อานนฺท ดูรกสำแดงอานนท์ อิงฺฆ ดังตถาคตจะเตือน ท่านจงพยายาม
ในประโยชน์แห่งตน อนุยุญฺชถ จงประกอบซึ่งประโยชน์ตน ท่านอย่างได้ประมาทในประโยชน์ตน
จงเป็นผู้มีความเพียร ส่งจิตไปในสมาธิ ดังนี้ ขอถวายพระพร

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามด้วยองค์อัน 1 แห่ง
เต่าเหลืองสืบต่อไป
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ เต่าเหลืองนั้นกลัวน้ำเชี่ยวหลีกน้ำไป มีอายุยืนด้วยไม่ลงน้ำ ยถา มี
ครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าพึงกลัวภัยในความประมาท มีสภาวะเห็นคุณอันประหลาดวิเศษ
ในอัปปมาท เห็นภัยในความประมาท ก็มิได้เสื่อมถอย แล้วก็เข้าไปสู่ที่ใกล้แห่งพระนิพพานมี
ุอุปไมยฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์อันหนึ่งแห่งเต่าเหลือง ยุติด้วยพระพุทธฎีกาที่สมเด็จพระสัมมา-
สัมพุทธภควันตบพิตรเจ้าตรัสเทศนาไว้ในพระธรรมบทว่า
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโต ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก

แปลความว่า พระโยคาวจรภิกษุ ยินดีในความไม่ประมาท แลเห็นภัยในความประมาท
เมื่อประพฤติตามโอวาทดังนี้ ก็มิเสื่อมไกล มิช้ามินาน ก็จะได้สำเร็จแก่พระอมตมหานิพพานดังนี้
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีบรมกษัตริย์ จึงมีพระราชโองการตรัสถาม ด้วยองค์
5 แห่งป่าชัฏสืบไป
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาว่าป่าชัฏย่อมปกปิดไว้ซึ่งคนไม่สะอาดได้ ยถา มีครุวนาฉันใด
พระโยคาวจรเจ้าพึงปกปิดไว้ซึ่งบุคคลผิดเหมือนป่าบังไว้ซึ่งคนไม่สะอาดฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์
แห่งป่าชัฏเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ป่าชัฏนั้นสูญเปล่าไม่มีคนไปมา ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า
พึงกำจัดเสียซึ่งราคะโทสะโมหะให้สูญจากสันดาน ปานดังว่าป่าชัฏฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่ง
ป่าชัฏ คำรบ 2
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ปวนํ อันว่าป่าชัฏนั้นสงัดเงียบ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า
ก็พึงสงัดจากอกุศลจิตอันลามก ซึ่งเป็นจิตของปุถุชน มิใช่จิตอริยะ ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่ง
ป่าชัฏ คำรบ 3

ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า ปวนํ อันว่าป่าชัฏ สนฺตํ สงบระงับ บริสุทฺธํ
บริสุทธิ์ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็พึงกระทำจิตให้สงบระงับให้บริสุทธิ์ อย่าได้มี
มานะและมักขะลบหลู่ท่านฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งป่าชัฏ คำรบ 4
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพรราชสมภาร ผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ปวนํ อันว่าป่าเป็นที่อันพระอริยะเสพ ยถา มีครุวนาฉันใด พระ
โยคาวจรเจ้าก็ทรงไว้ซึ่งผลกล่าวคือพระวิมุตติ ทรงไว้ซึ่งดอกคือพระสามัญบุปผาฉันนั้นนี่แหละ
ป่าชัฏคำรบ 5 ยุติด้วยพระพุทธฎีกาที่ตรัสไว้ในสังยุตตนิกายอันประเสริฐว่า
ปวิตฺเตหิ อริเยหิ ปหิตตฺเตหิ วิญฺญุภิ
นิจฺจํ อารทฺธวีริเยหิ ปณฺฑิเตหิ สหาวเส

มีความว่า พระโยคาวจรภิกษุ พึงอยู่รวมกับด้วยบัณฑิตผู้สงัด ไกลจากกิเลส ส่งจิตไป
ในสมาธิ เป็นนักปราชญ์ ปรารภความเพียรอยู่เป็นนิตย์ ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระนราธิบดินทร์มิลินท์เลิศกษัตริย์ จึงมีพระราชโองการตรัสถาม ด้วยองค์ 2
ประการ แห่งรุกขชาติต่อไป
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ธรรมดาว่ารุกขชาติต้นไม้นั้น ปุปฺผผลธโร ทรงไว้ซึ่งดอกและผล ยถา มีครุวนาฉันใด พระ
โยคาวจรเจ้าก็ทรงไว้ซึ่งผลกล่าวคือพระวิมุตติ ทรงไว้ซึ่งดอกคือพระสามัญบุปผาฉันนั้นนี่แหละ
เป็นองค์แห่งรุกขชาติเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ รุกฺโข อันว่ารุกขชาติต้นไม้ ย่อมให้คนอาศัยร่มฉันใด พระโยคาวจรเจ้า
พึงกระทำปฏิสันถาร เป็นอามิสปฏิสันถารและธรรมปฏิสันถาร กับด้วยบุคคลอันเข้าไปสู่สำนัก
ฉันนั้นนี่แหละเป็นองค์แห่งรุกขชาติ คำรบ 2
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาว่าไม้แล้วย่อมมีร่มแผ่ไป คนอาศัยได้ทั่วทุกคน จะได้เลือก
หน้าหามิได้ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็มิได้เลือกหน้าแผ่เมตตาไปแต่คนทั่วไป แม้
จะเป็นปัจจามิตร ข้าศึกหรือมิใช่ก็ดี ก็แผ่ไปให้เหมือนกัน ด้วยบทว่า
อิเม สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหเรยฺยุํ

แปลว่า อิเม สตฺตา สัตว์ทั้งหลายนี้ อเวรา อย่ามีเวร อพฺยาปชฺฌา อย่ามีพยาบาท
จองเวร อนีฆา อย่าได้มีทุกข์ สุขี มีแต่ความสุข ปริหเรยฺยุํ พึงเลี้ยงรักษา อตฺตานํ ซึ่งตนดังนี้
ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งรุกขชาติที่คำรบ 3 ยุติด้วยคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้า
กล่าวไว้ว่า
เทวทตฺเต วธกมฺหิ โจเร องฺคุลิมาลเก
ธนปาเล ราหุเล จ สพฺพตฺถ สมโก มุนิ

มีใจความว่า สมเด็จพระมหามุนีบรมศาสดามีพระทัยประกอบด้วยพระมหากรุณา
เมตตาแก่พระราหุลเถระฉันใด น้ำพระทัยของสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าก็ประกอบไปด้วยเมตตา
ในพระเทวทัตอันคิดจะฆ่าพระองค์ และองคุลิมาลโจรอันไล่ฆ่าพระองค์ และช้างธนปาลหัตถีอัน
เทวทัตปล่อยเข้าไป และน้ำพระทัยของสมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้า ก็แผ่พระทัยเมตตา
เหมือนเมตตาแก่พระราหุล ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสถามด้วยองค์ 5 ประการ
แห่งเมฆต่อไป
พระนาคเสนวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมาภารผู้มีศักดิ์เป็นอัครกษัตริย์
อันประเสริฐ เมโฆ นาม ชื่อว่าเมฆ คือฝน ย่อมกำจัดเสียซึ่งมลทินเหงื่อไคลให้หายไป ยถา มี
ครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจา พึงระงับเสียซึ่งเหงื่อไคลคือกิเลสดุจเมฆฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์
แห่งเมฆเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์ เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ เมโฆ อันว่าเมฆอันให้เป็นฝน ยังภูมิดลที่ร้อนให้ชุ่มชื่น ยถา มีครุวนา
ฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็ยังมนุษยโลกกับทั้งเทวโลกให้ดับเสียซึ่งทุกข์ ด้วยเมตตาภาวนา มี
ครุวนาปานดุจเมฆฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งเมฆคำรบ 2
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ เมโฆ อันว่าเมฆนี้ ยังพืชในภูมิดลให้งอกงาม ยถา มีครุวนาฉันใด พระ
โยคาวจรเจ้ายังพืชคือศรัทธาแห่งสาธุชนสัตบุรุษทั้งหลายให้จำเริญ คือให้ได้ติวิธสมบัติ 3
ประการ คือมนุษย์สมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ อันเป็นยอดสุขดุจเมฆฉันนั้น นี่แหละ
เป็นองค์แห่งเมฆ คำรบ 3
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น

อัครกษัตริย์อันประเสริฐ เมโฆ อันว่าเมฆนี้ ครั้นถึงฤดูแล้วก็ตั้งขึ้นให้ฝนตกลงมาเป็นอุทก-
สมุฏฐาน คือเป็นที่เกิดแห่งน้ำ ย่อมยังไม้ไล่และกอหญ้าเถาวัลย์ให้งอกงามจำเริญขึ้นแล้วรักษา
ไว้ได้ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าพังยังโยนิโสมนิการให้เกิดขึ้น รักษาสมณธรรมไว้
ด้วยโยนิโสมนสิการ เพราะธรรมทั้งหลายมีโยนิโสมนสิการเป็นมูลทุกประการ ฉันนั้น นี่แหละ
เป็นองค์แห่งเมฆ คำรบ 4
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ เมฆนั้นเมื่อบันดาลให้ฝนตกลงมายังแม่น้ำและสระโบกขรณีและบ่อ
ซอกธารและที่ลุ่มทั้งหลาย ปริปูเรติ ให้เต็มไป อุทกธาราหิ ด้วยท่อธารแห่งน้ำ ยถา มีครุวนา
ฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็ยังธรรมเมฆคือพระไตรปิฎก และพระโลกุตรธรรมเจ้าให้ตกลงในน้ำ
จิตแห่งคนอันปรารถนาพระโลกุตรธรรมเจ้าให้เต็มบริบูรณ์ดุจเมฆฝนอันยังนทีสระโบกขรณีให้
เต็มบริบูรณ์ ตถา ก็มีอุปมาเหมือนดังนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งเมฆ คำรบ 5 ยุติด้วยคำที่พระ
ธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้ากล่าวไว้ว่า
โพธเนยฺยํ ปชํ ทิสฺวา สตสหสฺสํปิ โยชนํ
ขเณน อุปคนฺตฺวาน โพเธติ ตํ มหามุนิ

มีความว่า สมเด็จพระมหากรุณาเจ้าเป็นจอมมหามุนีผู้ประเสริฐ ทิสฺวา พระองค์ออก
จากพระกรุณาสมาบัติ พิจารณาดูโพธไนยสัตว์อันควรจะรู้มรรคผล เมื่อพระองค์เห็นโพธไนยชน
แล้ว ถึงทางจะไกลตั้งแสนโยชน์ ก็อุตสาหะเสด็จไปโปรด โพเธติ ตํ ยังฝูงเวไนยโพธนียสัตว์นั้น
ให้ตรัสรู้มรรคผล โดยควรแก่ขณะ ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาค-
เสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า ผู้ปรีชาเฉลิมปราชญ์ ที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า องค์แห่งมณี
รัตนะ 3 ประการนั้นเป็นอย่างไร
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ มณิ-
รตนํ นาม
ขึ้นชื่อว่ามณีรัตนะ เอกนฺตปริสุทฺธิ บริสุทธิ์โดยแท้ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคา-
วจรเจ้าก็เลี้ยงชีวิตเป็นเอกันตบริสุทธิ์ ดุจแก้วมณีฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งมณีรัตนะเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ มณิ-
รตนํ
อันว่ามณีรัตนะนั้น มิได้เจือไปด้วยมลทินสิ่งอันใดอันหนึ่ง ยถา มีครุวนาฉันใด พระโย-
คาวจรเจ้าก็มิได้เจือไปด้วยสหายปาปมิตรใจบาป ดุจมณีรัตนะอันมิได้เจือด้วยมลทินสิ่งใด ฉันนั้น
นี่แหละเป็นองค์แห่งมณีรัตนะ คำรบ 2

ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
มณิรตนํ มณีเป็นชาติรัตนะ คือประกอบด้วยแก้วอันมีชาติ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจร
เจ้าย่อมอยู่ด้วยท่านอันมีชาติอันอุดม คือท่านผู้ตั้งอยู่ในพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระ
อนาคามี พระอรหันต์ เป็นเสกขบุคคล เป็นผลสมังคี และท่านที่ได้ไตรวิชชา ได้อภิญญา 6
ดุจมณีอันควรจะอยู่ด้วยชาติมีอันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งมณีรัตนะ คำรบ 3 ยุติด้วยพระ
พุทธฎีกาที่สมเด็จพระมหากรุณาตรัสไว้ว่า
สุทฺธา สุทฺเธหิ สํวาสํ กปฺเปยฺย โว ปติสฺสตา
ตโต สมคฺคา นิปกา ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสถ

แปลความว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์และมีสติขอบแตจะอยู่ด้วยพระภิกษุที่มี
ศีลบริสุทธิ์ แต่นั้นไปก็จะสมัครสโมสรมีปัญญารักษาตนแก่กล้าขึ้น ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสถ ก็จะ
ผ่องแผ้วกระทำซึ่งที่สุแห่งความทุกข์ได้ ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามต่อไปนี้ ภนฺเต นาค-
เสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชาเฉลิมปราชญ์ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้ว่าองค์ 4
แห่งพรานเนื้อนั้นเป็นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ธรรมดา
ว่าพรานเนื้อ เมื่อแสวงหาเนื้อ ก็มิได้หลับนอน ย่อมปราศจากเงียบเหงาหาวนอน ยถา มีครุวนา
ฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็ปราศจากหลับดุจพรานเนื้อฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งพรานเนื้อ
คำรบ 2
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ มาค-
วิโก
พรานเนื้อนั้นผูกจิตคิดแต่จะฆ่าเนื้อ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็ผูกอารมณ์ที่จะ
ได้ธรรมวิเศษ ดุจพรานเนื้ออันผูกจิตอยู่ด้วยเนื้อฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งพรานเนื้อ
คำรบ 2
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ พรานเนื้อย่อมรู้จักกาลที่จะยิงเนื้อนั้น ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคา-
วจรเจ้าพึงรู้ว่ากาลนี้เป็นกาลชมฌาน กาลนี้เป็นกาลที่จะออกจากฌาน ดุจพรานเนื้ออันรู้กาล
จะยิงเนื้อฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งเพรานเนื้อ คำรบ 3
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น


อัครกษัตริย์อันประเสริฐ มาควิโก พรานเนื้อเห็นแล้วซึ่งเนื้อย่อมยังความยินดีให้บังเกิดว่า
อาตมาจะได้เนื้อตัวนี้ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าได้อารมณ์อันน่ายินดีแล้ว ก็ยังความ
ิยินดีร่าเริงให้บังเกิดว่า อาตมาจะได้ซึ่งธรรมวิเศษอันวิเศษฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งพรานเนื้อ
คำรบ 4 ยุติด้วยคำอันที่พระโมคคัลลานเถรเจ้ากล่าวไว้ว่า
อารมฺมเณ ลภิตฺวาน ปหิตตฺเตน ภิกฺขุนา
ภิยฺโย หาโส ชเนตพฺโพ อธิคจฺฉามิ อุตฺตรึ

แปลความว่า พระโยคาวจรเจ้า ผู้ตั้งความเพียรส่งจิตในสมาธิบำเพ็ญภาวนาได้อารมณ์
แล้ว ก็มีความยินดีร่าเริงบังเกิดขึ้นว่า เราจะได้บรรลุธรรมวิเศษยิ่งขึ้นไป ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามด้วยองค์ 2 แห่ง
พรานเบ็ดต่อไป
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาว่าพรานเบ็ดย่อมตกปลามาด้วยเบ็ด ยถา มีครุวนาฉันใด พระ
โยคาวจรเจ้า ก็ตกเอามาซึ่งสามัญผลอันยิ่งด้วยเบ็ดคือปัญญา ดุจพรานเบ็ดตกปลาฉันนั้น นี่
แหละเป็นองค์แห่งพรานเบ็ดเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ ประการหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพร พรานเบ็ดนั้นใส่เหยื่อแต่น้อนก็
ได้ปลาตัวใหญ่ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าสละเสียซึ่งโลกามิสอันน้อย ก็ถึงซึ่งภาวะ
ได้วสีในพระสามัญผลอันไพบูลย์ ดุจพรานเบ็ดเสียเหยื่อน้อยได้ปลาใหญ่ฉันนั้น นี่แหละเป็น
องค์แห่งพรานเบ็ด คำรบ 2 ยุติด้วยคำอันพระราหุลเถรเจ้ากล่าวไว้ว่า
อนิมิตฺตํ วิโมกฺขํ วา สุญญฺตาปณิหิตํปิ จ
จตฺตาโร ผเล ฉฬภิญฺญา วชฺชิตฺวา โลกามิสฺสํ ลภติ

มีความว่า พระโยคาวจรเจ้าสละซึ่งโลกามิสเสียแล้ว ทำความเพียรไป ก็ได้สำเร็จ
อนิมิตตวิโมกข์ สุญญตวิโมกข์ อปณิหิตวิโมกข์และผล 4 อภิญญา 6 ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามด้วยองค์ 2 แห่งช่าง
ถากไม้ต่อไป
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ธรรมดาว่าช่างถากไม้นั้นย่อมอนุโลมแลดูตามสายบรรทัดทอดแล้ว ถากตามสายบรรทัดไป ยถา

มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็อนุโลมตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระชินวรเจ้ายืนเหนือ
พื้นปฐพี กล่าคือศีล เอาพระหัตถ์กล่าวคือพระศรัทธา จับแล้วซึ่งขวานแก้วคือพระปัญญา
กิเลสา ตจฺเฉตพฺพา ก็ถากเสียซึ่งกิเลสทั้งหลายให้สูญหายเหือดแห้วไปจากสันดาน ปานประดุจ
นายช่างถากไม้ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งช่างถากไม้เป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ ธรรมดาว่านายช่างถาก เผคฺคุํ อปหริตฺวา ถากเสียซึ่งกระพี้ ถือเอา
แต่ไม้ที่เป็นแก่นสาร ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็เหมือนกัน ถากเสียซึ่งทิฐิ คือ
ความยึดถือเป็นสัสตทิฐิ และอุจเฉททิฐิ อันมีประการเป็นอันมาก เป็นดังกระพี้พอกอยู่ หาแก่น
สารมิได้นั้นเสีย เลือกถือเอาแต่ธรรมที่มีแก่นสาร คือพิจารณาเห็นเที่ยงแท้ว่า สังขารธรรมนี้
เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา ดังนี้ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งช่างถาก คำรบ 2 ยุติ
ด้วยพระพุทธฎีกาที่สมเด็จพระมหากรุณาสัมาสัมพุทธสัพพัญญูเจ้าตรัสไว้ว่า
การณนฺธํ นิทฺธมถ กสมฺพุํ อวกสฺสถ
ตโต ปลสํ วาเหถ อสฺสมเณ สมณานิเก
นิทฺธมิตฺวาน ปาปิจฺเฉ ปาปอาจารยโคจเร
สุทฺธา สุทฺเธหิ สํวาสํ กปฺปยวฺโห ปติสฺสตา

มีความว่า ท่านทั้งหลายพึงปัดเป่าซึ่งความมืดมนอนธการนอันเป็นต้นเหตุ คือมิจฉาทิฐิ
เสียแล้ว พึงกวาดหยากเหยื่อและเชื้อฟางดุจกิเลสให้สิ้นเชิง เกียจกันไม่คบหาคนที่มิใช่สมณะ
อันปฏิญญาณตนว่าเป็นสมณะ ซึ่งมีความปรารถนาอันลามกมีความประพฤติและโคจรอัน
เลวทรามแล้ว เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาด ประกอบด้วยสติ จงสำเร็จความเป็นผู้อยู่กับด้วยท่านที่
บริสุทธิ์หมดจด มิใช่คนลามกเลวทราม ดังนี้ ขอถวายพระพร
จบมักกฏกวรรคที่ 6 แต่เพียงนี้
ในที่สุดวรรคนี้ พระคันถรจนาจารย์เจ้าผูกอุทานคาถากล่าวหัวข้อบทมาติกา ที่แสดง
มาแล้วข้างต้นนั้นไว้ว่า
มกฺกฏโก ทารโก กุมฺโม ปวนํ รุกฺโข จ ปญฺจโม
เมโฆ มณิ มาควิโก พาลิโส ตจฺฉเกน วา

มีความว่า องค์แห่งแมงมุม องค์แห่งทารก องค์แห่งเต่าเหลือง องค์แห่งป่า องค์แห่งไม้
องค์แห่งเมฆ องค์แห่งแก้วมณี องค์แห่งพรานเนื้อ องค์แห่งพรานเบ็ด องค์แห่งช่างถาก เหล่านี้
ท่านจัดเป็นวรรคอันหนึ่ง ดังนี้แล

กุมภวรรค ที่ 7


สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลราชมีพระราชโองการประภาษถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชาเฉลิมปราชญ์ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่าองค์อัน 1 แห่งหม้อนั้นประการใด
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ผู้มีศักดิ์เป็น
อัครกษัตริย์อันประเสริฐ กุมฺโก นาม ชื่อว่าหม้อถ้าใส่น้ำเปี่ยมปากแล้ว น สทฺทยติ ถึงคนจะ
เคาะก็มิได้กระทำเสียงกึกก้อง ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าเมื่อมีพระบารมีในพระ
ไตรปิฎกและพระโลกุตรธรรมสำเร็จแล้ว จะได้ประกาศอ้างอวดอึงไปหามิได้ จะได้เป็นแก่ลาภ
สักการะอันเกิดแต่พระไตรปิฎกและพระโลกุตรธรรมนั้นก็หามิได้ จะได้มีมานะถือว่า อาตมารู้ก็
หามิได้ กำจัดเสียซึ่งมานะและความกระด้างให้สิ้นจากสันดาน มีจิตเป็นอุลุภูตะ มิได้อวดอ้าง
ตนอื้ออึงไป ดุจหม้ออันเปี่ยมไปด้วยน้ำอันมิได้กระทำเสียงฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์อัน 1 แห่ง
หม้อ ยุติด้วยพระพุทธฎีกา ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธสัพพัญญูบรมครูเจ้าตรัสไว้ว่า
ยทูนํ ตํ สทฺทยติ ยํ ปูรํ สนฺตเมว ตํ
อฑฺฌกุมฺโภปโม พาโล รหโท ปูโรว ปณฺฑิโต

มีความว่า หม้อใบใดบกพร่องมิได้ใส่น้ำให้เต็ม หม้อใบนั้นแลมีเสียงมี่ก้องนัก หม้อใด
ใส่น้ำไว้เต็ม หม้อใบนั้นย่อมเงียบเสียงสงบอยู่ คนอันธพาลท่านกล่าวไว้ว่าดุจหม้ออันมีน้ำได้ครึ่งหนึ่ง
ย่อมจะมีเสียงสนั่นลั่นไป ส่วนว่านักปราชญ์นั้นไซร้ ดุจหม้อน้ำอันเต็ม จะได้อวดอ้างคุยโอ้หามิ
ได้ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ประเสริฐ อันว่าองค์ 2 แห่งกาลักน้ำนั้นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ กาฬายโส
นาม ชื่ออันว่ากาลักน้ำนั้น สุปิโต ย่อมดูดอุทกังขึ้นมา ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็
พึงดูดดื่มซึ่งฉันทอัธยาศัย นำไปด้วยโยนิโสมนสิการ ดุจกาลักน้ำ ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่ง
กาลักน้ำเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพร กาฬายโส ธรรมดาว่กาลักน้ำ
นั้น บุคคลดูดเข้าทีเดียวแล้วก็ดูดน้ำนั้นมากไป จะได้คายน้ำเสียหามิได้ ยถา มีครุวนาฉันใด
พระโยคาวจรเจ้ายิ่งประสาทศรัทธาเลื่อมใสว่า อุฬาโร พุทฺโธ คุณแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า
อุฬารเลิศยิ่ง สฺวากฺขาโต ธมฺโม อันหนึ่งคุณแห่งพระธรรมนั้น สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าตรัส